แนวคิด

       การสร้างสรรค์วิทยานิพนธ์ในหัวเรื่อง “มายาคติกับความเชื่อทางวัตถุในพุทธศาสนา” ของข้าพเจ้านี้ เป็นการศึกษาที่ต้องการจำแนกและตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆภายใต้หัวข้อดังกล่าวในเชิงลึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่มา ความหมาย , ความจริง , ความรู้และอัตลักษณ์ที่สิ่งเหล่านั้น แสดงตนออกไป พร้อมกับการชี้ให้เห็นว่าในประเด็นต่างๆเหล่านี้ ยังมีสิ่งที่สามารถวิเคราะห์ได้อีก มากมายไม่ใช่หยุดอยู่แค่เพียงผิวของวัตถุ ผิวของเรื่อง ผิวของมายาคติ เท่านั้น
         ทิศทางที่มาของแนวคิดลักษณะดังกล่าวนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากทฤษฎีสัญวิทยาและ มายาคติซึ่งเป็นศาสตร์ที่สามารถใช้ถอดความ-อ่านค่าในสิ่งต่างๆได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งการหยิบยก ทฤษฎีดังกล่าวมาอ้างอิงนั้น ก็เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่จะจำแนกระหว่างคติความเชื่อที่เป็นพุทธ ศาสตร์ (แก่น-ธรรม) กับคติความเชื่อที่เป็นไสยศาสตร์ (กระพี้-มายาคติ) ซึ่งฉาบเคลือบอยู่บนองค์ พระพุทธรูปและได้บิดเบือนความหมายไปจากเนื้อความเดิม (ธรรม) อันเป็นวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ของการสร้างไปอย่างมาก

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : Buddha's portrait

เทคนิค : วาดเส้นเทคนิคประสม

ขนาด : 140 x 140 ซม.

ชื่อภาพ : เก้าพระศก

เทคนิค : จิตรกรรมเทคนิคประสม

ขนาด : 140 x 140 ซม.

ชื่อภาพ : จากกระพี้ถึงแก่น

เทคนิค : จิตรกรรมสื่อประสม

ขนาด : ผันแปรตามพื้นที่

ชื่อภาพ : ตามกำลังสัตว์ทา

เทคนิค : สีน้ำมันบนผ้าใบ

ขนาด : 120 x 160 ซม.

ชื่อภาพ : ปางห้ามยาก

เทคนิค : จิตรกรรมเทคนิคประสม

ขนาด : 130 x 230 ซม.

ชื่อภาพ : มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ?

เทคนิค : สีน้ำมันบนผ้าใบ

ขนาด : 140 x 150 ซม.

ชื่อภาพ : ม่านประเพณี

เทคนิค : จิตรกรรมเทคนิคประสม

ขนาด : 150 x 150 ซม.

ชื่อภาพ : มายาคติ “ขัด” สมาธิ

เทคนิค : จิตรกรรมเทคนิคประสม

ขนาด : 140 x 140 ซม.